1.1.1
ใบงานที่ 1.1
มิถุนายน 29, 2564
ใบงานที่ 1.1.1
เรื่อง การนำเสนอข้อมูลและการแบ่งปัน
คำชี้แจง : ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง
1.การนำเสนอข้อมูล หมายถึง
การสื่อสารเพื่อเสนอข้อมูล ความรู้ ความคิดเห็น หรือความต้องการไปสู่ผู้รับสาร โดยใช้เทคนิคหรือวิธีการต่าง ๆ อันจะทำให้บรรลุผลสำเร็จตามจุดมุ่งหมายของการนำเสนอ จุดมุ่งหมายของการนำเสนอข้อมูล เพื่อให้ผู้รับสารรับทราบข้อมูล
2.การนำเสนอแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะได้แก่
kasarin_papa
kasarin_papa
สถิติ
8
9
e-book
home
power point
การนำเสนอข้อมูล
การแจกแจงความถี่ของข้อมูล
ความหมายของสถิติ
ประเภทของข้อมูล
ลักษณะของข้อมูล
สถิติกับการตัดสินใจและการวางแผน
ๅจ
แผนผังเว็บไซต์
การนำทาง
สถิติ >
การนำเสนอข้อมูล
การนำเสนอข้อมูล
การนำเสนอข้อมูล เป็นการนำข้อมูลที่รวบรวมข้อมูลที่ได้จากการศึกษามานำเสนอ หรือทำการเผยแพร่ให้ผู้ที่
สนใจได้รับทราบ หรือนำไปวิเคราะห์เพื่อไปใช้ประโยชน์ แบ่งออกได้ 2 ลักษณะ คือ
1. การนำเสนออย่างไม่เป็นแบบแผน
11. การนำเสนอในรูปของบทความ
เช่น " ในระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมาการเมืองของไทยอยู่ในสภาพที่ขาดเสถียรภาพ มีการเดินขบวนเรียกร้องในด้านต่างๆมากมาย เนื่องจากความเป็นอยู่ที่แตกต่างกัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ท่านได้ให้แนวทางในการดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงและแนวทางสมานฉันท์เพื่อให้ความเป็นอยู่ที่ดีและเกิดความปองดองในชาติ"
1.2. การนำเสนอข้อมูลในรูปของข้อความกึ่งตาราง เป็นการนำเสนอข้อมูลที่มีข้อความและมีส่วนหนึ่งนำเสนอข้อมูลด้วยตาราง เช่น
"การท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่ได้มีแผนกลยุทธในการจัดการด้านการท่องเที่ยว ทำให้มีนักท่องเที่ยวทั้งนอกประเทศและในประเทศสนใจมาท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ ไ ดังตาราง
ตารางแสดงจำนวนนักท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ 2545 - 2547
พ.ศ
ชาวต่างชาติ
ชาวไทย
2545
1,558,317
1,639,473
2546
1,431,351
1,714,843
2547
1,746,201
1,877,197
2. การนำเสนอข้อมูลอย่างเป็นแบบแผน
2.1. การนำเสนอข้อมูลโดยใช้ตาราง
อัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุในปี พ.ศ. 2546
สาเหตุการเสียชีวิต
จำนวนผู้เสียชีวิต (คน)
อุบัติเหตุทางรถยนต์
168,943
ไฟฟ้าช๊อต
32,945
ทะเลาะวิวาท
18,644
สิ่งของตกใส่
2,587
อื่น ๆ
95,142
2.2. การนำเสนอข้อมูลโดยใช้แผนภูมิแท่ง
2.2.1 แผนภูมิแท่งแนวตั้ง
2.2.2 แผนภูมิแท่งแนวนอน
2.3 การนำเสนอข้อมูลโดยใช้แผนภูมิวงกลม
2.4 การนำเสนอข้อมูลโดยใช้แผนภูมิรูปภาพ
2.5 การนำเสนอข้อมูลโดยใช้แผนที่สถิติ
แผนที่แสดงความหนาแน่นของการเลี้ยงสัตว์รายจังหวัด โคเนื้อ ปี 2546
2.6. การนำเสนอข้อมูลโดยใช้แผนภูมิแท่งเปรียบเทียบ
2.6.1 แผนภูมิแท่งเปรียบเทียบแนวตั้ง
2.6.2 แผนภูมิเปรียบเทียบแนวนอน
2.7 การนำเสนอข้อมูลโดยใช้กราฟเส้น
หมายเหตุ ในการนำเสนอข้อมูลแบบใดขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของข้อมูล เช่น ต้องการแสดงอุณหภูมิของภาคต่างๆ ควรแสดงด้วยกราฟเส้น ต้องการแสดงการเปรียบเทียบจำนวนักเรียนแต่ละระดับชั้น ควรใช้แผนภูมิแท่ง เป็นต้น
ความคิดเห็น
คุณไม่มีสิทธิ์เพิ่มความคิดเห็น
ลงชื่อเข้าใช้|กิจกรรมล่าสุดของไซต์|รายงานการละเมิด|พิมพ์หน้าเว็บ|ขับเคลื่อนโดย Google Sites
https://sites.google.com/site/kasarinpapa/math/6
3.การนำเสนอข้อมูลสารสนเทศในสายงาน มีกี่ลักษณะ อะไรบ้าง อธิบาย
การนำเสนอข้อมูลและสารสนเทศ
วิธีการนำเสนอสารสนเทศเพื่อให้เกิดความเข้าใจและใช้ประโยชน์จากสารสนเทศ สามารถแสดงผลออกภายนอกได้ดังนี้
-ลักษณะของสารสนเทศที่นำเสนอ
1.ข้อมูลตัวเลข (numerical data) ได้แก่ กลุ่มตัวเลขทั้งที่เป็นจำนวนเต็ม ทศนิยม หรือจำนวนจริง ข้อมูลลักษณะนี้ใช้กันในการศึกษา คำนวนทางวิทยาศาสตร์ การพยากรอากาศ เศรษฐกิจ ข้อมูลดัชนีหุ้นของตลาดหลักทรัพย์ เป็นต้น
2.ข้อมูลตัวอักขร (alphabetical data) ได้แก่ ตัวอักษรที่ใช้ในการเขียนภาษาต่างๆ ทุกภาษา เช่น ตัวอักษร A-Z ,ก-ฮ,สระ,วรรณยุกต์ รวมทั้งสัญลักษณ์และเครื่องหมายต่างๆซึ่งจะทำให้สามารถครอบคลุมสารสนเทศที่ใช้กันทั่วไปในทุกวงการ ทั้งการศึกษา ค้นคว้า วิจัย วิทยาศาสตร์ และธุรกิจการพานิชย์เป็นต้น
3.ข้อมูลกราฟฟิก (Graphic data) ได้แก่ ข้อมูลที่มีลักษณะเป็นรูปภาพ รูปจำลองรูปวาด การวิเคราะห์ข้อมูลตัวเลขแลละแสดงผลในรูปของแผนผัง แผนภูมิ กราฟต่าง ๆ
4.ข้อมูลเสียง (Voice Data) ได้แก่ ข้อมุลที่ใช้ในการสื่อสารด้วยภาษาพูด เสียงร้อง เสียงกริ่ง เสียงจากวิทยุ ฯลฯ โดยทัวไปมักจะใช้ข้อมูลหลายประเภทควบคู่กันไปในการสื่อสารและปฏิบัติงาน เช่น
ใช้ข้อมุลเสียงในการสื่อสาร พูดคุย ประชุมและสั่งงาน เขียนบันทึกข้อความในการสั่งการและสื่อสาร และอ่านข้อมูลทั้งที่เป็นตัวอักษร รูปภาพ เป้นต้น
- เทคนิคการนำเสนอสารสนเทศ ในการนำเสนอสารสนเทศ ให้น่าสนใจสามารถดึงดูดความสนใจของใช้ให้เกิดความประทับใจ และง่ายต่อการนำไปใช้งานนั้น มีเทคนิคที่ช่วยให้การนำเสนอมีประสิทธิภาพ ดังนี้
1.ลดหรือตัดข้อมูลข่าวสารที่ไม่จำเป็นออก นำเสนอเฉพาะสิ่งที่เป็นแก่นสารสาระสำคัญเท่านั้น
2.จัดวางให้อยู่ในรูปแบบที่เหมาะสม ระมัดระวังในการจัดรูปแบบ มีการเว้นวรรคตอน และจัดวางในตำแหน่งที่เหมาะสม ทั้งบนหน้าจอและหน้ากระดาษ จัดรูปแบบตามลักษณะ คุณสมบัติของข้อมูลที่นำเสนอ เช่น นำเสนอตัวเลข ในรูปแบบตาราง รูปกราฟ สรุปแสดงในรูปแบบของการเปรียบเทียบเป็นอัตราส่วน อัตราร้อยละ ซึ่งจะทำให้เข้าใจง่ายขึ้น
3.ใช้สีสันมาช่วยในการนำเสนอ การเน้นข้อมูลที่สำคัญ ด้วยสีต่าง ๆ จะทำให้น่าสนใจ มองเห็นได้ง่ายยิ่งขึ้น แต่ถ้าใช้สีมากเกินไปก็จะทำให้เกิดการสับสนดูยาก ไม่สบายตา
4.การใช้กราฟฟิกมาช่วยในการนำเสนอ รูปภาพหรือกราฟฟิกนั้นสามารถอธิบายความหมายของข้อมูลต่างๆ แทนข้อความได้มากมายโดยใช้เวลาอันสั้น ช่วยลดเวลาในการอ่านและเก็บรายละเอียดหรือทำให้เข้าใจเนื้อหาสาระได้ในระยะเวลาอันสั้น
- รูปแบบของสารสนเทศ
สารรสนเทศจะต้องมีการจัดเก็บไว้อย่างเป็นระบบเพื่อให้สะดวกต่อการนำไปใช้งานและการเผยแพร่ในรูปแบบต่างๆ ในปัจจุบันเทคโนโลยีก้าวหน้าขึ้น ทำให้ไม่จำเป็นต้องจัดแสดงสารสนเทศที่มีอยู่ในรูปของกระดาษเท่านั้น แต่อาจอยู่ในรูปแบบของสื่ออื่นๆอีก ซึ่งแต่ละแบบมีทั้งข้อดีและข้อจำกัด ดังนี้
1.สิ่งพิมพ์ เป็นสื่อที่แพร่หลายและเป็นที่คุ้นเคย อาจอยู่ในรูปของหนังสือ วารสาร แบบฟอร์ม เอกสารรายงานหรืออาจอยู่ในรูปแบบบันทึก เช่น บันทึกส่วนตัว บันทึกการปฏิบัติการในห้องทดลอง
ข้อดีของสิ่งตีพิมพ์
1. ผู้ใช้คุนเคยกับการใช้สื่อสิ่งพิมพ์
2. มีระบบการผลิตเผยแพร่ที่กว้างขวางทั่วโลก การจัดพิมพ์ทำได้สะดวก
3. มีราาคาถูก
4. ผู้ใช้ไม่ต้องใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์พิเศษในการอ่าน การเขียน
ข้อจำกัดของสิ่งพิมพ์
1. ไม่คงทนถาวร เมื่อเวลาผ่านไปอาจกรอบและเสียหาย
2. การจัดส่งแพง เมื่อเทียบกับวัสดุย่อส่วนและสื่ออิเล็กทรอนิกแล้ว เพราะมีน้ำหนักมาก การจัดส่งต้องใช้ระบบดั้งเดิม นั่นคือระบบไปราณีย์หรือบริการจัดส่งสิ่งพิมพ์ต่างๆ
2.วัสดุย่อส่วน(microform) ซึ่งมักเป็นแผ่นฟิล์มขนาด 16 มม. หรือ 35 มม. อาจเป็นลักษณะฟิล์มม้วน (Microfilm) หรืเป็นแผ่น (microfiche) ก็ได้ ในแผ่นฟิล์มจะเป็นรูปถ่ายย่อของเอกสสารคือเป็นหน้าหนังสือ จัดเรียงกันไปตามลำดับจากหน้าแรกไปจนถึงหน้าสุดท้าย แผ่นฟิล์มหนึ่งแผ่นสามารถบรรจุเอกสารได้หลายหน้า ขึ้นอยู่กับอัตราส่วนในการย่อ การอ่านจะต้องใช้ร่วมกับเครื่องอ่านโดยเฉพาะ
ข้อดีของวัสดุย่อส่วน
1. ประหยัดพื้นที่ในการจัดเก็บกว่าในรูปของกระดาษมาก
2. มีความคงทนถาวร หากมีการรจัดเก็บอย่างถูกวิธี สามารถจัดเก็บได้นานถึงประมาณ 100 ปี จึงนิยมจัดเก็บสำเนาต้นฉบับสิ่งพิมพ์ เช่น หนังสือพิมพ์ซึ่งใช้กระดาษที่มีคุณภาพต่ำมาผลิต
3. สะดวกในการรจัดส่งเพราะมีน้ำหนักเบา กะทัดรัด
ข้อจำกัดของวัสดูย่อส่วน
1. ต้องใช้กับเครื่องอ่านโดยเฉพาะหากไม่มีเครื่องอ่านจะอ่านไม่ได้
2. การอ่านจะต้องเลื่อนจากหน้าต้นไปตามลำดับจนถึงหน้าที่ต้องการ หากเป็นไมโครฟิล์มที่มีลักษณะเป็นม้วน ผู้อ่านจะต้องเริ่มไล่จากหน้าหนึ่งไปจนถึงหน้าที่ต้องการ หากเป็นชนิดที่เป็นแผ่น อาจเริ่มจากหน้าที่ต้นแถวไล่ไปตามลำดับแถว จึงช้าและไม่สะดวก
3. ไม่เมหาะกับการนั่งอ่านเป็นเวลานานๆ เพราะผู้อ่านจะต้องเพ่งอ่านทำให้เกิดอาการเมื่อยตาหรือปวดศรีษะ
วัสดุย่อส่วนมักจะใช้กับสารสนเทศที่มีการใช้งานไม่มาก จะใช้เฉพาะที่จำเป็น ที่จะต้องจัดเก็บไว้อย่างถาวรและเพื่อการศึกษาอ้างอิง เช่น เอกสารจดหมายเหตุ วารสารฉบับเก่าซึ่งมีจำนวนมาก
3.สื่อเทปเสียงและวีดิทัศน์ หมายถึง สื่อที่ใช้ในการบันทึกข้อมูลเสียง และภาพเคลื่อนไหว สามารถใช้บันทึกข้อมูลได้อย่างสะดวก ข้อมูลที่จัดเก็บจะเรียงลำดับกันไปกันนับแต่ต้นจนจบ หากต้องการเข้าถึงข้อมูลตรงกลางจะต้องเริ่มค้นนับตั้งแต่ต้นไล่ไปจนถึงตำแหน่งของข้อมูลที่ต้องการ
ข้อดีของสื่อเทปเสียงและวีดีทัศน์
1. สะดวกในการใช้งาน ทั้งในการบันทึก ปรับปรุง แก้ไข และใช้งาน
2. สามารถจัดเก็บข้อมูลที่เป็นทั้งเสียงและภาพเคลื่อนไหวไว้ได้
3. มีราคาถูกทั้งเทปและอุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกัน
ข้อจำกัดของสื่อเทปเสียงและวีดีทัศน์
1. ไม่คงทนถาวร โดยทั่วไปจะมีอายุกาารใช้งานประมาณ 5-10 ปี
2. การเข้าถึงข้อมูลไม่สะดวกและเสียเวลา คือจะต้องเริ่มจากต้นไปตามลำดับ
3. การจัดเก็บ จะต้องระมัดระวังไม่ให้สื่อเหล่านี้เข้าใกล้บริเวณสนามแม่เหล็ก เพราะจะทำให้ข้อมูลเสียหายและไม่สามรถกู้คืนมาได้
4.สื่ออิเล็ทรอนิกส์ (electronic publication) หมายถึง การจัดพิมพ์สารสนเทศที่อยู่ในรูปของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งใช้ระบบคอมพิวเตอร์อ่านได้
สื่อเหล่านี้สามารถจัดเก็บอยู่ในรูปแบบต่างๆ เช่น แผ่นดิสก์เก็ตต์ จานแม่เหล็กในเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งเก็บข้อมุลได้เป็นนจำนวนมาก เช่น ในแผ่นซีดีรอม (compact disk-read only memory: CD-rom) ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4.5นิ้ว จะมีความจุถึง650เมกกะไบต์ (เท่ากับ 681,574,400 ไบต์ ) ซึ่งงถ้าเป็นตัวอักษรเก็บลงในกระดาษจะต้องใช้ประมาณ 246,000 หน้า
นอกจากนี้สื่อิเล็กทรอนิกส์ ยังสามารถจัดส่งเผยแพร่ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้ จึงช่วยทำให้การเผยแพร่สารสนเทศทำได้สะดวก รวดเร็ว และคล่องตัว
เครือข่ายอินเตอร์เน็ต (Internet) เ)นระบบเครือข่ายที่สามารถเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกัน เป็นระบบสื่อสารข้อมูลและสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์อย่างกว้างขวาง เกิดเป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic book หรือ e-book) และวารสารอิเล็กทรอนิกส์ (electronic journal) หรือ (e-journal) รวมทั้งการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคล องค์กร และธุรกิจ โดยอาศัยสื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็นกลไกสำคัญ
4.หากต้องการนำเสนอข้อมูลสารสนเทศให้น่าสนใจและง่ายต่อการนำไปใช้งานนั้น มีเทคนิคอะไรบ้างให้
การนำเสนอข้อมูลให้ผู้ชมสามารถเข้าใจได้ง่าย น่าสนใจ และมีประสิทธิภาพ มีเทคนิคง่ายๆ ดังนี้ 1. ลดหรือตัดข้อมูลข่าวสารที่ไม่จำเป็นออก ให้นำเสนอเฉพาะสิ่งที่จำเป็นเท่านั้น 2. จัดวางข้อมูลให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม ดูความเหมาะสมของหน้าจอนำเสนอ ไม่จัดวางข้อมูลให้
5.รูปแบบของข้อมูลสารสนเทศ
รูปแบบของสารสนเทศ
สารสนเทศจะต้องมีการจัดเก็บไว้อย่างเป็นระบบเพื่อให้สะดวกต่อการนำไปใช้งานและการเผยแพร่ ในรูปแบบต่างๆ ในปัจจุบันเทคโนโลยีก้าวหน้าขึ้น ทำให้ไม่จำเป็นต้องจัดแสดงสารสนเทศที่มีอยู่ในกระดาษเท่านั้น แต่อาจอยู่ในรูปของสื่ออื่นๆอีก ซึ่งแต่ละแบบมีทั้งข้อดีและข้อจำกัด ดังนี้
1 สิ่งพิมพ์ เป็นสื่อที่แพร่หลายและเป็นที่คุ้นเคย อาจอยู่ในรูปของหนังสือ วารสาร แบบฟอร์ม เอกสารรายงาน หรืออาจอยู่ในรูปของบันทึก เช่น บันทึกส่วนตัว บันทึกการปฏิบัติการในห้องทดลอง
ข้อดีของสิ่งพิมพ์
1 ผู้ใช้คุ้นเคยกับการใช้สื่อสิ่งพิมพ์
2 มีระบบการผลิตและเผยแพร่ที่กว้างขวางโลก การจัดพิมพ์ทำได้สะดวก
3 มีราคาถูก
4 ผู้ใช้ไม่ต้องใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์พิเศษในการอ่าน การเขียน
ข้อจำกัดของสิ่งพิมพ์
1 ไม่คงทนถาวร เมื่อเวลาผ่านไปอาจกรอบและเสียหาย
2 การจัดส่งแพง เมื่อเทียบกับวัสดุย่อส่วนและสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพราะมีน้ำหนักมาก การจัดส่งต้องใช้ระบบดั้งเดิม นั่นคือระบบไปรษณีย์หรือบริการจัดส่งสิ่งพิมพ์ต่างๆ
3 วัสดุย่อส่วน (microform)ซึ่งมักเป็นแผ่นฟิล์มขนาด 16 ม. หรือ 35ม.อาจเป็นลักษณะฟิล์ม ม้วน(microfilm)หรือเป็นแผ่น(microfiche)ก็ได้ ในแผ่นฟิล์มจะเป็นรูปถ่ายย่อของเอกสารคือเป็นหน้า หนังสือ จัดเรียงกันไปตามลำดับจากหน้าแรกไปจนหน้าสุดท้าย แผ่นฟิล์มหนึ่งแผ่นสามารถบรรจุเอกสารได้หลายหน้า ขึ้นอยู่กับอัตราส่วนในการย่อ การอ่านจะต้องใช้ร่วมกับเครื่องอ่านโดยเฉพาะ
6.การแบ่งปันข้อมูล หมายถึงอะไร พร้อมยกตัวอย่าง
การนำาเสนอและแบ่งปันข้อมูล คือ การเผยแพร่ข้อมูลหรือสารสนเทศเพื่อให้คนทั่วไปหรือ บุคคลเป้าหมายให้รับทราบข้อมูล ข่าวสาร หรือสารสนเทศที่ต้องการนำาเสนอ การนำาเสนอข้อมูลที่ดีควรมีเทคนิค วิธีการและรูปแบบการนำาเสนอที่ทำาให้ผู้รับข้อมูลเกิดความสนใจและเข้าใจข้อมูลนั้นได้ตรงกับจุดประสงค์ ของผู้นำาเสนอ นอกจากการนำาเสนอที่ดีแล้ว
7.สื่อสังคมออนไลน์ หมายถึง
สื่อสังคมออนไลน์ หมายถึง สื่อดิจิทัลที่เป็นเครื่องมือในการปฏิบัติการทางสังคม (Social Tool) เพื่อใช้สื่อสารระหว่างกันในเครือข่ายทางสังคม (Social Network) ผ่านทางเว็บไซต์และโปรแกรมประยุกต์บนสื่อใดๆ ที่มีการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต โดยเน้นให้ผู้ใช้ทั้งที่เป็นผู้ส่งสารและผู้รับสารมีส่วนร่วม (Collaborative) อย่างสร้างสรรค์
8.ประเภทของสื่อสังคมออนไลน์
1.Weblogs
Weblog (อ่านว่า เวบ-บล็อก )หรือ เรียกสั้นๆว่า Blog (อ่านว่า บล็อก) คือ Website หนึ่งที่บันทึกเรื่องราวต่างๆ ที่ผู้เขียนต้องการสื่อสารในเรื่องราวต่างๆที่ต้องการ โดยสามารถนำเสนอได้ทั้งในรูปแบบของตัวอักษร รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว และเสียง และสามารถ update และเพิ่มเติมเนื้อหาเดิมได้ตลอด หรือจะเขียนเป็นลักษณะไดอะรี่ส่วนตัวก็ยังได้นะคะ ซึ่งBlog มีความแตกต่างจาก Webboard คือ Blog มีความเป็นเนื้อหาที่กว้างขวาง มีเนื้อหาที่น่าสนใจ หลากหลาย และส่วนหนึ่งเป็นเนื้อหาที่มีความน่าเชื่อถือ ให้ความรู้ได้ต่อเนื่อง และเราสามารถเป็นผู้เขียนและเป็นเจ้าของเรื่องราวที่จะนำเสนอเองได้ โดยบางwebsite เปิดโอกาสให้เราได้สมัครสมาชิกเป็นเจ้าของ Blog ของเราเองได้ ด้วย
2. Social Networking
โซเชียลเน็ตเวิร์ค หรือ Social Network คือเครือข่ายสังคมออนไลน์ หรือการที่ผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตคนหนึ่ง เชื่อมโยงกับเพื่อนอีกนับสิบ รวมไปถึงเพื่อนของเพื่อนอีกนับร้อย ผ่านผู้ให้บริการด้านโซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) บนอินเตอร์เน็ต เช่น Facebook, Blogger, Hi5, Twitter หรือ Tagged เป็นต้น (บางเว็บไซต์ที่กล่าวถึงในตัวอย่าง ปัจจุบันนี้ได้เสื่อมความนิยมแล้ว) การเชื่อมโยงดังกล่าว ทำให้เกิดเครือข่ายขึ้น เช่น เราสามารถรู้จักเพื่อนของเพื่อนเราได้ เป็นทอดๆ ต่อไปเรื่อย ทำให้เกิดสังคมเสมือนจริงขึ้นมา สามารถสร้างคอนเน็คชั่นใหม่ๆ ได้ง่าย และเมื่อเราแชร์ (Share) ข้อความหรืออะไรก็ตามลงไปในเครือข่าย ทุกคนในเครือข่ายก็สามารถรับรู้ได้พร้อมกัน และสามารถตอบสนองต่อสิ่งที่เราแชร์ได้ เช่น แสดงความคิดเห็น (Comment) กดไลค์ (Like) ซึ่งอาจจะแตกต่างกันออกไปตามแต่ละผู้ให้บริการ ความโดดเด่นในเรื่องความง่ายของโซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social Network) ทำให้ธุรกิจ และนักการตลาดสนใจที่จะใช้เป็นเครื่องมือในการประชาสัมพันธ์สินค้า และบริการ
3.Micro Blogging
Micro blogging คือการที่เราโพสข้อความสั้นๆ สู่เว็บไซต์และเมื่อเราพูดสั้นๆ เราก็หมายถึงแบบนั้นจริงๆ การโพสบน micro blogging เรามักจะเรียกว่าอัพเดท (หรือในเว็บที่ได้รับความนิยมมากจะนิยมเรียกว่า tweet) มีการจำกัดตัวอักษรที่ 140 ตัวอักษร รวมไปถึงการเว้นวรรค ได้แรงบันดาลใจมากจากการส่งข้อความ text message ธรรมดาที่ใช้ส่งจากมือถือไปยังมือถือ
4.Online video
เป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการวิดีโอออนไลน์โดยไม่เสียค่าใช้จ่า ซึ่งปัจจุบันได้รับความนิยมกันอย่าวแพร่หลายและขยายตัวอย่างรวดเร็ว เนื่องจากเนื้อหาที่นำเสนอในวิดีโอออนไลน์ไม่ถูกจำกัดโดยผังรายการที่แน่นอน ทำให้ผู้ใช้บริการสามารถติดตามชมได้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งผู้ใช้สามารถชมเนื้อหาได้ตามต้องการ โดยเฉพาะการดูแลโทรทัศน์ย้อนหลัง และยังสามารถจัดทำวิดีโอนำเสนอผลงานนหรือเนื้อหาที่สนใจเพื่อให้ผู้อื้นเข้ามาดูได้อีกด้วย
5.Photo sharing
สำหรับบริการ Photo-sharing นั้น จะทำงานร่วมกับ Photo Stream ครับ โดยผู้ใช้งานสามารถแชร์รูปภาพ หรืออัลบั้มภาพให้ผู้อื่นดูได้ อีกทั้งยังสามารถคอมเมนต์ได้อีกด้วย ต่างจากในปัจจุบันที่เป็นการแชร์ไฟล์ให้เฉพาะอุปกรณ์ของผู้ใช้งานเท่านั้น นอกจากบริการแชร์รูปภาพ หรือ Photo-sharing แล้ว ยังมีบริการ Video syncing หรือการซิงค์วิดีโอส่วนตัวขึ้นไปเก็บไว้บน iCloud อีกด้วย
6.Wikis
เป็นเว็บไซต์ที่มีลักษณะเป็นแหล่งข้อมูลหรือความรู้ (Data/Knowledge) ซึ่งผู้เขียนส่วนใหญ่อาจจะเป็นนักวิชาการ นักวิชาชีพหรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านต่างๆ ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและการศึกษา ซึ่งผู้ใช้สามารถเขียนหรือก้ไขข้อมูลได้อย่างอิสระ เช่น Wikipedia,Google,Earth
7.Virual worlds
โลกเสมือนจริง (Virtual World) คือ โลกเสมือน 3 มิติที่ถูกสร้างขึ้นใน Cyber Space โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปผ่านการเชื่อมโยงทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ทต่างๆ โดยเน้นให้ผู้เล่นหรือผู้ใช้ทั่วโลก ต่างมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันในรูปแบบต่างๆ ที่หลากหลาย อิทธิพลของ Virtual World ส่งผลให้เด็กและเยาวชน และผู้ใหญ่เอง เกิดความหลงใหล มีจำนวนผู้เข้าไปในโลกแห่งนี้ทวีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ โลกเสมือน 3 มิติหรือโลกเสมือนจริง ในปัจจุบัน มีตัวอย่างให้พวกเราได้เห็นกันหลายรูปแบบ
8.Crowd Sourcing
“Crowdsourcing” คือการร่วมสร้างสรรค์ของกลุ่มคน (Crowd) เพื่อร่วมกันทำ หรือสร้างสิ่งต่างๆ รวมถึงแก้ไขปัญหาร่วมกัน จนกลายเป็นเทรนด์ฮิต ของการทำกิจกรรมในการตลาดออนไลน์ผ่าน Digital Campaign และการโฆษณาออนไลน์
Crowdsourcing เป็นเรื่องที่กำลังถูกพูดถึงมากในธุรกิจออนไลน์ และเป็นแนวโน้มของเทคโนโลยีและผู้ให้บริการ Web-service, Hosting และ Application ต่างๆ กำลังให้ความสำคัญ เพราะกลุ่มเมฆนี้มีมูลค่าสูงและทรงพลัง Crowdsourcing ถอดออกมาเป็นคำว่า Crowd และ Outsourcing เป็นการกระจายปัญหาหรือวัตถุประสงค์บางอย่างเพื่อให้กลุ่มคนหรือชุมชนออนไลน์ มาร่วมกันแก้ปัญหาหรือทำอะไรตามวัตถุประสงค์นั้นๆ ยกตัวอย่างใกล้ตัวอย่าง Wikipedia สารานุกรม ออนไลน์ ที่ประชากร อาสาสมัคร Cyber ทุกคนสามารถเข้ามาร่วมกันสร้างสรรค์และแก้เนื้อหาได้
9.Podcasting หรือ podcast
คือขั้นตอนของการเผยแพร่เสียง รวมไปถึงการพูดคุย เล่าเรื่อง สนทนาเรื่องต่างๆ ผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต เริ่มได้รับความนิยมในช่วงปลายปี พ.ศ. 2547 โดยผู้รับฟังสามารถสมัครที่จะเลือกรับฟังเสียงหรือเพลง (โดยปกติจะเป็นในลักษณะ MP3) ผ่านทางระบบฟีด (feed) โดยตัวฟีดนี้จะทำงานอัตโนมัติ เพื่อทำการดาวน์โหลดไฟล์มัลติมีเดียต่าง ๆ เข้าสู่ คอมพิวเตอร์ หรือเครื่องเล่นเพลงแบบพกพา (หรือที่เรียกว่า MP3 เพลเยอร์)
จุดเริ่มต้นเมื่อเดือนเมษายน ปี พ.ศ. 2547 โดยความคิดของอดัม เคอรรี่ ร่วมกับเดฟ วินเนอร์ สร้างโปรแกรม iPodder ขึ้นมา เพื่อเป็นการนำข้อมูลเสียงจากอินเทอร์เน็ตผ่านโปรแกรมบรรจุลงไปที่เครื่องเล่น MP3 ชื่อ ไอพอด
10. Discuss/Review/Opinion
เป็นเว็บบอร์ดที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตสามารถแสดงความคิดเห็น โดยอาจจะเกี่ยวกับสินค้าหรืบริการ ประเด็นสาธารณะทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม เช่น Epinions,Moutshut, Yahoo!
9.ข้อควรระวังในการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์
ข้อควรปฏิบัติและควรระวังในการใช้ Social network สังคมออนไลน์
ในปัจจุบันการใช้ Social Network นับเป็นการสื่อสารหรือสังคมออนไลน์ที่เริ่มมีความนิยมมากขึ้น ดังนั้นการใช้สื่อหรือเครื่องมือในการสื่อสารประเภทนี้ จึงต้องให้ความสำคัญและควรตระหนักอยู่เสมอถึงความระมัดระวังในการใช้ Social Network ว่าเราควรใช้กันอย่างไรถึงจะปลอดภัย
- ไม่ควรระบุข้อมูลส่วนตัวมากเกินไป
ข้อมูลส่วนตัวที่สำคัญเหล่านี้ถือว่าเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการระบุตัวตนที่สำคัญอันหนึ่งทีเดียว ควรพึงระวังอย่างยิ่ง หากเราเปิดเผยข้อมูลมากเท่าไหร่ ภัยร้ายก็จะเข้าใกล้ตัวเรามากขึ้นเท่านั้น อีกเรื่องที่สำคัญคือการระบุ วันเดือน ปี เกิด ทำให้เด็ก ๆ วัยรุ่นที่มีอายุน้อย ๆ ก็จะสามารถถูกล่อลวงได้ง่ายและเป็นจุดที่มิจฉาชีพสนใจ
ไม่ควร post ข้อความที่ชี้ชวนให้มิจฉาชีพเข้าถึงเรา
เช่น บอกสถานะว่าไม่อยู่บ้านวันไหน เมื่อไหร่ เมื่อไรก็ตามที่จะเดินทางไปพักผ่อนไม่ว่าไกลแค่ไหน ก็ไม่ควรบอกข้อมูลล่วงหน้า ซึ่งอาจทำให้ผู้ไม่หวังดีอาจวางแผนมาทำร้ายบุคคล หรืออาจวางแผนมาขโมยทรัพย์สินเราได้ และถือเป็นจุดที่ดึงดูดความสนใจให้มิจฉาชีพที่ไม่หวังดีกับเราติดตามพฤติกรรมของเราได้
ไม่ควร post หรือเผยแพร่ข้อความ รูปภาพ วีดีโอที่ทำให้ผุ้อื่นเสียหาย
เช่น ภาพหลุด คลิปหลุด หรือโพสรูปภาพที่สื่อถึงสิ่งอบายมุขต่างๆ ไม่ควรใช้ถ้อยคำหยาบคา ดูหมิ่น ส่อเสียด เสียดสี ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม รวมทั้งไม่ควรโพสต์รูปภาพ ภาพถ่าย วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร ลงใน Social Network
- ไม่ควรเผยแพร่ข้อมูลทางการเงิน ไม่ว่าจะเป็นส่วนตัว หรือที่ทำงาน
เรื่องเงินทองถือเป็นเรื่องใหญ่ และสำคัญ ไม่ว่าใครก็ต้องการโดยเฉพาฝะผู้ที่ไม่หวังดี ดังนั้นข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินเงินทอง ไม่ว่าจะเป็นการทำธุรกรรมการเงินของตัวเอง หรือที่ทำงานก็ตาม จึงไม่ควรเปิดเผยสู่สาธารณะ เพราะอาจจะนำภัยร้ายมาสู่ตัวเองได้
- ไม่ควรไว้ใจหรือเชื่อใจคนที่รุ้จักผ่านอินเทอเน็ต
เนื่องจากมีตัวอย่างการที่โดนล่อลวงผ่านการรุ้จักผ่าน Social Network หรือถูกหลอกเรื่องการซื้อขายผ่าน internet ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลส่วนตัว เช่น ชื่อของคุณ อีเมล หมายเลขโทรศัพท์ ที่อยู่บ้าน หรือชื่อสถานศึกษาให้กับคนที่ไม่รู้จักหรือการไว้ใจ เชื่อใจคนแปลกหน้าที่รู้จักกันผ่านอินแทอร์เน็ตอาจเป็นอันตรายได้ เพราะอาจถูกหลอก หรือล่อลวงไปทำอันตรายได้ ดังนั้นไม่ควรไว้ใจบุคคลที่รู้จักทาง Social Network
ความคิดเห็น
คุณไม่มีสิทธิ์เพิ่มความคิดเห็น
ความคิดเห็น
โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้
วิดีโอเเนะนำตัวเอง
มิถุนายน 22, 2564
อ่านเพิ่มเติม
ใบงานที่1.5.1
สิงหาคม 03, 2564
รูปภาพ
ใบงานที่ 1.5.1 เรื่อง การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย คำชี้แจง : ให้นักเรียนกำหนดข้อตกลงการใช้บล็อกเว็บไซต์ในการสร้างชิ้นงานเทคโนโลยีสารสนเทศอย่าง ปลอดภัย ข้อควรปฏบัติสำหรับผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศ ( Information Technology: IT) หรือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ( Information and Communication Technologies: ICT) คือ เทคโนโลยีสองด้านหลักๆ ประกอบด้วยเทคโนโลยีระบบคอมพิวเตอร์ และ เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมที่ผนวกเข้าด้วยกัน เพื่อใช้ในกระบวนการจัดหา จัดเก็บ สร้าง และเผยแพร่สารสนเทศในรูปต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเสียง ภาพ ภาพเคลื่อนไหว ข้อความหรือตัวอักษร และตัวเลข เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความถูกต้อง ความแม่นยำ และความรวดเร็วให้ทันต่อการนำไปใช้ประโยชน์ ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร การสื่อสาร มีส่วนในการพัฒนากิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ประกอบด้วย Communications media การสื่อสารโทรคมนาคม ( Telecoms) และเทคโนโลยีสารสนเทศ ( IT) เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารประกอบด้วยผลิตภัณฑ์หลักที่มากไปกว่า โทรศัพท์และคอมพิวเตอร์ เช่น แฟกซ์ อินเทอร์เน็ต อีเมล์ ทำให้สารสน
อ่านเพิ่มเติม
ขับเคลื่อนโดย Blogger
ภาพธีมโดย Michael Elkan
บาบาส
ไปที่โปรไฟล์
เก็บ
รายงานการละเมิด
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น