ใบงานที่ 1.5.1

เรื่อง การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย

คำชี้แจง : ให้นักเรียนกำหนดข้อตกลงการใช้บล็อกเว็บไซต์ในการสร้างชิ้นงานเทคโนโลยีสารสนเทศอย่าง

ปลอดภัย

ข้อควรปฏบัติสำหรับผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology: IT) หรือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technologies: ICT) คือ เทคโนโลยีสองด้านหลักๆ ประกอบด้วยเทคโนโลยีระบบคอมพิวเตอร์ และ เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมที่ผนวกเข้าด้วยกัน เพื่อใช้ในกระบวนการจัดหา จัดเก็บ สร้าง และเผยแพร่สารสนเทศในรูปต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเสียง ภาพ ภาพเคลื่อนไหว ข้อความหรือตัวอักษร และตัวเลข เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความถูกต้อง ความแม่นยำ และความรวดเร็วให้ทันต่อการนำไปใช้ประโยชน์

 

ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 

  • การสื่อสาร มีส่วนในการพัฒนากิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ประกอบด้วย Communications media  การสื่อสารโทรคมนาคม (Telecoms) และเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT)  
  • เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารประกอบด้วยผลิตภัณฑ์หลักที่มากไปกว่า โทรศัพท์และคอมพิวเตอร์ เช่น แฟกซ์ อินเทอร์เน็ต อีเมล์ ทำให้สารสนเทศเผยแพร่หรือกระจายออกไปในที่ต่าง ๆ ได้สะดวก
  •  เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีผลให้การใช้งานด้านต่าง ๆ มีราคาถูกลง
  • เครือข่ายสื่อสาร (Communication networks) ได้รับประโยชน์จากเครือข่ายภายนอกเนื่องจากจำนวนการใช้เครือข่าย จำนวนผู้เชื่อมต่อ และจำนวนผู้ที่มีศักยภาพในการเข้าเชื่อมต่อกับเครือข่ายนับวันจะเพิ่มสูงขึ้น
  • เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทำให้ฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ และต้นทุนการใช้ IT มีราคาถูกลงมาก

 ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ


ภัยแฝงออนไลน์ 

  •  สารสนเทศมากมายมหาศาล ทั้งดีและไม่ดี ส่งตรงถึงห้องนอน
  •  คนแปลกหน้า/ผู้ไม่ประสงค์ดี ใช้ไอทีเป็นช่องทางหาเหยื่อ เราอาจตกเป็นผู้ถูกกระทำหรือเป็นผู้กระทำเสียเอง
  • สังคมออนไลน์ การรวมกลุ่ม ค่านิยม แฟชั่น ทำให้เด็กและเยาวชนคล้อยตาม ตกเป็นทาสของเทคโนโลยี ความฟุ้งเฟ้อ ความเชื่อผิดๆ
  • การที่ใช้งานง่าย แพร่หลาย ราคาถูก ทำให้เสี่ยงต่อการกระทำผิดกฎหมาย/ผิดศีลธรรม ทั้งที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือโดยเจตนาก็ตาม
  • การใช้เวลากับของเล่นไอที/โลกออนไลน์มากจนเกินไป ส่งผลในด้านลบ อาจทำให้เสียโอกาสการเรียนรู้ในด้านอื่นๆ

 

การเสริมสร้างความปลอดภัยในการใช้อินเทอร์เน็ตสำหรับเด็ก

    กฎสำหรับการใช้อีเมล์

  •  ไม่ให้ที่อยู่อีเมล์แก่คนที่เราไม่รู้จัก
  •  ไม่เปิดอีเมล์จากคนหรือองค์กร/ธุรกิจที่เราไม่รู้จัก
  •  อีเมล์อาจจะมีสิ่งที่ไม่ดีมากมาย เช่น เรื่องราวที่ไม่เป็นจริง การติฉินนินทา และจดหมายลูกโซ่ที่พยายามจะเอาเงินจากกระเป๋าเรา
  •  ไวรัส อาจผ่านมากับข้อมูลอีเมล์ เข้ามาสู่คอมพิวเตอร์ของเรา
  •  ภาพที่ไม่เหมาะสม ผิดกฎหมาย ภาพยนตร์ อาจถูกส่งมาพร้อมกับข้อมูลอีเมล์

 

วิธีการจัดการกับเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมที่ปรากฏบนจอคอมพิวเตอร์

  • ปิดหน้าเว็บ
  • ไม่ได้ผล ปิดเบราเซอร์ browser
  • ถ้ายังไม่ได้ผล ปิดคอมพิวเตอร์พร้อมกับแจ้งผู้ปกครองหรือครู
  • จำไว้ว่า เราสามารถหลีกเลี่ยงปัญหาโดยการบอกให้คนอื่นทราบหากเราพบอะไรผิดพลาด 

 

กฎของการแชท

  • ไม่สามารถเชื่อได้ว่าบุคคลเหล่านั้นเป็นคนอย่างที่เค้าพูด
  • อย่าให้ชื่อจริง ควรใช้ชื่อสมมุติ
  • อย่าให้ข้อมูลว่าคุณอยู่ทีไหน หมายเลขโทรศัพท์ (โทรศัพท์มือถือ) เรียนอยู่ที่ไหน พ่อแม่เป็นใคร
  • ทำความเข้าใจให้ชัดเจนถึงกฎของแต่ละห้องแชท ที่จะเข้าไปเล่น
  • ให้จำไว้ว่าคุณอาจเป็นบุคคลนิรนามในอินเทอร์เน็ต แต่บ่อยครั้งที่คนอื่นสามารถสืบเสาะได้ว่าใครเป็นคนใส่ข้อมูลในอินเทอร์เน็ต ดังนั้น ต้องมีความสุภาพกับผู้อื่นเสมอ

 

กฎของการแชท การสื่อสารทางออนไลน์

  • ไม่ออกไปพบกับบุคคลที่พบ รู้จักสื่อสารผ่านทางออนไลน์
  • ถ้ารู้สึกถูกกดดัน จากการสื่อสารออนไลน์กับใคร ให้ปรึกษากับผู้ใหญ่ที่รับผิดชอบ
  • ให้ชื่ออีเมลกับเพื่อนที่รู้จักดี ไม่ควรให้กับคนแปลกหน้า
  • ปรึกษา หารือกับผู้ใหญ่ที่รับผิดชอบเสมอ อย่าให้ถูกหลอกล่อ หรือถูกกดดันเพื่อไปพบเจอกับคนที่รู้จักออนไลน์
  • หากถูกใครหรือสิ่งใดรบกวนในห้องแชท ให้รีบออกจากการสนทนา และอย่าติดต่อ สนทนาอีก

 

กฎ – การป้องกันไวรัส และข้อมูลขยะ

  • หากข้อมูลบางอันรู้สึกดีเกินที่จะเชื่อได้ สรุปได้เลยว่าไม่จริง
  • ให้ระวังอีเมล์ที่บอกว่าโปรดส่งต่อให้ทุก ๆ คน เพราะอาจจะมีแต่เรื่องหลอกลวงไร้สาระ หรือมีไวรัสที่ไม่ควรส่งต่อ
  • อย่าเข้าไปในเวบไซด์ของธนาคารใด ๆ ที่อ้างบอกให้คุณแจ้งรหัสผ่าน
  •  เก็บรหัสผ่านเป็นความลับเสมอ
  • ให้ระมัดระวัง เวบไซด์ที่ให้ดาวน์โหลดฟรี หรือมีเกมให้เล่นฟรี เพราะอาจเต็มไปด้วยไวรัส หรือจะมีข้อมูลที่ไม่เหมาะสมส่งมาให้คุณ
  • บางครั้ง บางคนอาจจะใช้ เล่ห์ ลวงให้คุณเชื่อมต่อไปยังเวบไซด์ที่ไม่เหมาะสม

กฎการเผยแพร่เรื่องราวในเว็บบล็อก

  • ตรวจสอบให้มั่นใจว่าใส่เฉพาะข้อมูลที่ปลอดดภัย
  • ให้มีรหัสส่วนตัวเพื่อปกป้องรูปภาพของคุณ
  •  ต้องได้รับการอนุญาตจากพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครู ในการสร้างเวบไซด์ของคุณเอง และให้ท่านเหล่านั้นช่วยตรวจสอบ ทบทวนสม่ำเสมอ
  •  อย่าใส่เรื่องราวส่วนตัวเข้าไปในเว็บบล็อก หรือ ในการสนทนากลุ่ม
  •  จำเป็นต้องมีความระมัดระวังมาก ๆ ในการใส่อะไรลงไปในอินเทอร์เน็ต เพราะทันทีที่มีการเผยแพร่คนจากทั่วโลกสามารถเห็นได้ และอาจมีการนำข้อมูลไปใช้ในทางผิด ๆ

 

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ


ข้อแนะนำการใช้อินเตอร์เน็ต
  • เรียนรู้เกี่ยวกับมารยาททั่วไปในการใช้อินเทอร์เน็ต netiquette
  • ทำตามหลักพื้นฐานความปลอดภัย และเรียนรู้วิธีการ แนวปฏิบัติเมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์เสี่ยงออนไลน์

 

มารยาททั่วไปในการใช้อินเตอร์เน็ต

  •  ไม่ใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อล่วงละเมิดหรือรบกวน ผู้อื่น
  • ไม่ใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อการใด ๆ ที่ขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรม
  •  ไม่นำข้อมูลของผู้อื่นมาใช้ในทางที่ผิด หรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลนั้น ๆ
  • ไม่บอกรหัสกับผู้อื่นแม้แต่เพื่อนสนิท
  •  ไม่ใช้บัญชีชื่อผู้ใช้ของผู้อื่น หรือใช้เครือข่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต
  •  ไม่ยืมหรือใช้โปรแกรม รูปภาพ หรือข้อมูลของผู้อื่นบนอินเตอร์เน็ตโดยไม่ได้ร้บอนุญาตจากเจ้าของ
  •  ไม่ฝ่าฝืนข้อห้ามของผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต
  •  ไม่เจาะเข้าระบบของผู้อื่นหรือท้าลองให้ผู้อื่นเจาะระบบของตัวเอง
  • หากพบมีการรั่วไหลในระบบ หรือบุคคลน่าสงสัยให้รีบแจ้งผู้ให้บริการในทันที
  • หากต้องยกเลิกการใช้อินเตอร์เน็ตให้ลบข้อมูลทั้งหมดและแจ้งผู้ดูแลเว็บไซต์
  •  การทิ้งบัญชีชื่อผู้ใช้งานไว้บนอินเตอร์เน็ตอาจทำให้มีผู้ไม่หวังดีเจาะเข้ามาในระบบได้

 ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

กฎความปลอดภัย

  • ไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวเช่น เบอร์โทรศัพท์ ชื่อโรงเรียน ชื่อเพื่อนหรือผู้ปกครอง
  •  ไม่นัดแนะเพื่อพบปะกับบุคคลที่รู้จักทางอินเตอร์เน็ตโดยไม่บอกผู้ปกครอง
  •  ไม่ส่งรูปหรือข้อมูลส่วนตัวให้กับคนที่รู้จักทางอินเตอร์เน็ต
  •  ไม่ให้ความสนใจหรือตอบโต้กับคนที่ถ้อยคำหยาบคาย
  •  ไม่โหลดสิ่งที่ไม่คุ้นเคยหรือเปิดเอกสารจากอีเมล์ของคนที่เราไม่รู้จัก
  • หากพบข้อความหรือรูปภาพรุนแรง ให้รีบแจ้งผู้ปกครองหรือคุณครู
  • เคารพในกฎระเบียบ นโยบาย หรือข้อตกลงที่ให้ไว้กับผู้ปกครองและคุณครูในการใช้อินเตอร์เน็ต


10 วิธี ดูแลบุตรหลานที่ใช้งานอินเทอร์เน็ต

  •  พ่อแม่ควรเรียนรู้เรื่องอินเทอร์เน็ตบ้าง
  •  ใช้เวลาท่องอินเทอร์เน็ตกับลูกให้มากที่สุด หรืออย่างน้อยต้องพูดคุยกัน
  • ติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ไว้ในห้องรวมของครอบครัว
  • ท่านต้องเป็นตัวอย่างที่ดีในการใช้งานอินเทอร์เน็ตก่อนที่จะสอนลูก
  •  สอนลูกให้เข้าใจถึงวัตถุประสงค์ของการใช้งานแต่ละอย่าง เช่น อีเมล์ แช็ต กลุ่มข่าว เว็บ การสำเนาข้อมูล รวมถึงกฎกติกามารยาทออนไลน์
  • ส่งเสริมให้ลูกใช้งานอินเทอร์เน็ตอย่างสนุก ปลอดภัย และได้ประโยชน์
  •  หมั่นสังเกตพฤติกรรมของลูก ดูว่าเขาทำตัวแปลกไปกว่าที่เคยหรือไม่
  • พูดคุยกับลูกให้เข้าใจแต่แรก ถึงขอบเขตการใช้งานอินเทอร์เน็ต
  •  ผู้ปกครองอาจติดตั้งโปรแกรมบล็อกเว็บไซต์ได้
  •  หากท่านพบอะไรที่เหลือบ่ากว่าแรง อย่ารีรอที่จะขอความช่วยเหลือ


ข้อควรปฏิบัติในการใช้งานคอมพิวเตอร์

     เคล็ดลับ 10 ประการในการใช้คอมพิวเตอร์อย่างปลอดภัยกับซอฟต์แวร์ที่นิยมใช้ในสถานที่ทำงานปัจจุบัน:

 

     1. ใช้โปรแกรมปรับปรุงล่าสุด  ติดตั้งโปรแกรมปรับปรุงและซอฟต์แวร์รักษาความปลอดภัยในเซิร์ฟเวอร์ ในเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งชนิดตั้งโต๊ะและชนิดแล็ปท็อปทุกเครื่อง

– ในการรับโปรแกรมปรับปรุงล่าสุดของระบบปฏิบัติการ ซอฟต์แวร์ และฮาร์ดแวร์ของ Windows โปรดไปที่ Microsoft Update ซึ่งจะสแกนเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณเพื่อตรวจสอบว่าคุณต้องใช้โปรแกรมปรับปรุงตัวใด จากนั้น คุณจะสามารถดาวน์โหลดโปรแกรมปรับปรุงโปรแกรมใดโปรแกรมหนึ่งหรือทุกโปรแกรมได้ 

– เพื่อเป็นการปรับปรุงความปลอดภัยและความเสถียรของซอฟต์แวร์ Microsoft Office ของคุณ ให้ไปที่ Office Update แล้วไปที่ลิงค์ Check for Updates

หากคุณใช้ Windows XP Professional คุณจะมีวิธีการรับโปรแกรมปรับปรุงที่ง่ายยิ่งขึ้นไปอีก เพียงเปิดใช้คุณสมบัติ Automatic Updates เท่านั้น คอมพิวเตอร์ของคุณจะแจ้งให้คุณทราบโดยอัตโนมัติทันทีที่มีโปรแกรมปรับปรุงที่สำคัญที่คุณสามารถใช้ได้


     2. ลดความเสี่ยงจากภัยของไวรัส  มีวิธีการต่างๆ เป็นจำนวนมากที่คุณสามารถกระทำได้เพื่อป้องกันคอมพิวเตอร์และเครือข่ายของคุณให้ปลอดภัยจากไวรัส การใช้ซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสและทำให้ซอฟต์แวร์ดังกล่าวทันสมัยอยู่เสมอเป็นสิ่งที่ควรทำเป็นลำดับแรก และยังมีสิ่งอื่นๆ ที่คุณสามารถทำได้ เช่น:

– ใช้การตั้งค่าเพื่อรักษาความปลอดภัยที่ตั้งมาจากโรงงานใน Office 2003 ซึ่งเป็นรุ่นที่มีปลอดภัยมากที่สุดเท่าที่วางจำหน่ายมาของ Office

– เข้าเว็บไซต์ Office Update เพื่อดาวน์โหลดโปรแกรมปรับปรุงและ Patch ต่างๆ

– ห้ามเปิดอีเมลหรือไฟล์แนบที่น่าสงสัย ให้ใช้ประโยชน์จากตัวกรองอีเมลขยะที่ยอดเยี่ยมของ Outlook 2003 เพื่อส่งอีเมลที่น่าสงสัยตรงไปยังโฟลเดอร์อีเมลขยะของคุณ

 

    3. ใช้ Windows Security Centre ในการตั้งค่า  ดูข้อมูลอย่างชัดเจนของการตั้งค่าการรักษาความปลอดภัยในคอมพิวเตอร์ของคุณที่รวมข้อมูลทุกอย่างไว้ในจอภาพเดียวใน Windows Security Centre โดยคุณสามารถปรับแต่งระดับการป้องกันได้ตามความเหมาะสมสำหรับการใช้งานของคุณ การตั้งค่าที่ใช้ป้องกันคอมพิวเตอร์ของคุณดังกล่าวจะมีผลกับไฟล์หรือข้อมูลทั้งหมดที่ส่งผ่านทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งช่วยป้องกันข้อมูลลับทางธุรกิจของคุณ

 

     4. เข้ารหัสข้อมูลที่มีความสำคัญในเครื่องแล็ปท็อปของคุณ หากคุณเดินทางเพื่อทำธุรกิจและใช้เครื่องแล็ปท็อปที่รันด้วย Windows 2000 Professional หรือ Windows XP Professional ให้ทำการป้องกันการโจรกรรมข้อมูล โดยใช้ Encrypted File System (EFS) เพื่อเข้ารหัสไฟล์และโฟลเดอร์ที่มีความสำคัญ และหากว่าเครื่องแล็ปท็อปของคุณถูกขโมยไป ไฟล์และโฟลเดอร์ของคุณจะได้รับการป้องกันเนื่องจากมีเพียงผู้ที่มีคีย์ถอดรหัสพิเศษเท่านั้นจึงจะสามารถเข้าใช้ไฟล์ที่เข้ารหัสดังกล่าวได้

 

     5. ดาวน์โหลดไฟล์ทางอินเทอร์เน็ตเฉพาะจากแหล่งข้อมูลที่ไว้ใจได้เท่านั้น  หากคุณไม่แน่ใจว่าไฟล์ที่กำลังจะดาวน์โหลดมีความปลอดภัยหรือไม่ ให้ดาวน์โหลดไฟล์เหล่านั้นลงในดิสก์ที่แยกต่างหากจากฮาร์ดดิสก์ เช่น ซีดี หรือฟล็อปปี้ดิสก์ จากนั้น คุณก็จะสามารถสแกนไฟล์เหล่านั้นด้วยโปรแกรมสแกนไวรัสได้

 

     6. ใช้ระบบเข้ารหัสที่ใช้รหัสผ่านเพื่อป้องกันไฟล์ในโปรแกรม Office เทคโนโลยีการเข้ารหัสที่ปรับปรุงใหม่ทำให้การรักษาความปลอดภัยด้วยรหัสผ่านมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นในโปรแกรม Word 2003 และ Excel 2003 และขยายการเข้ารหัสที่ใช้รหัสผ่านไปใช้กับ PowerPoint 2003 อีกด้วย คุณสามารถเปิดใช้งานการป้องกันไฟล์ด้วยรหัสผ่านได้จากเมนู เครื่องมือ ของโปรแกรมทั้งสามดังกล่าว และวิธีนี้เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการป้องกันการเข้าใช้ข้อมูลลับทางธุรกิจได้

     7. ล้างข้อมูลในฮาร์ดดิสก์ของคุณก่อนกำจัดทิ้ง  หากคุณได้คอมพิวเตอร์หรือโน้ตบุ๊คเครื่องใหม่มาและกำลังจะทิ้งเครื่องเก่าไป ให้ตรวจสอบว่าคุณได้ลบข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลทางธุรกิจที่สำคัญทิ้งแล้ว ก่อนที่จะกำจัดเครื่องดังกล่าวทิ้ง ซึ่งมิใช่เพียงแค่การลบไฟล์ต่างๆ แล้วตามลบไฟล์เหล่านั้นออกจาก Recycle Bin เท่านั้น แต่หมายถึงการฟอร์แม็ตฮาร์ดดิสก์ใหม่ หรือใช้ซอฟต์แวร์ในการล้างข้อมูลทั้งหมดในฮาร์ดดิสก์

 

     8. ใช้ไฟร์วอลล์  หากบริษัทของคุณใช้การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตชนิดบรอดแบนด์ที่เชื่อมต่อตลอดเวลาอยู่ ให้ติดตั้งไฟร์วอลล์ซึ่งเป็นวิธีการป้องกันขั้นพื้นฐานสำหรับป้องกันผู้บุกรุกจากภายนอก ไฟร์วอลล์แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ 1) ไฟร์วอลล์ชนิดซอฟต์แวร์ เช่น Microsoft Internet Connection Firewall ที่มาพร้อมกับ Windows XP Professional ซึ่งจะป้องกันเครื่องที่ซอฟต์แวร์นั้นใช้รันโปรแกรม และ 2) ไฟร์วอลล์ชนิดฮาร์ดแวร์ที่ใช้สกัดกั้นการรับส่งข้อมูลทั้งหมดระหว่างอินเทอร์เน็ตกับเครือข่ายทั้งหมดของคุณยกเว้นแต่การรับส่งข้อมูลจากผู้ส่งที่คุณกำหนดไว้เท่านั้น


       9. ไม่ใช้เซิร์ฟเวอร์ในการท่องเว็บ  เนื่องจากเซิร์ฟเวอร์เป็นศูนย์บัญชาการของเครือข่ายทั้งหมดของคุณ จึงเป็นที่เก็บข้อมูลทางธุรกิจที่มีความสำคัญ หากเซิร์ฟเวอร์ของคุณถูกบุกรุก ข้อมูลทั้งหมดตลอดจนเครือข่ายทั้งหมดของคุณก็จะได้รับอันตรายด้วย

 

      10. ใช้รหัสผ่านอย่างชาญฉลาด ใช้รหัสผ่านที่ยากต่อการคาดเดาเสมอ โดยมีความยาวอย่างน้อย 8 ตัวอักษรและมีตัวพิมพ์เล็กและตัวพิมพ์ใหญ่ ตัวเลขและสัญลักษณ์ผสมกัน อย่าใช้รหัสผ่านตัวเดียวกันซ้ำๆ กันตลอดเวลา ให้หมั่นเปลี่ยนรหัสผ่านของคุณเสมอ และหากคุณมีปัญหาในการจำรหัสผ่าน ให้ลองพิจารณาใช้รหัสวลี ซึ่งคุณสามารถใช้ใน Windows 2000 และ Windows XP ได้ ตัวอย่างรหัสวลี เช่น “I had pizza for lunch Tuesday”


ที่มา : https://nuymo.wordpress.com/2011/09

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ใบงาน 1.3.1

ใบงานที่1.1.1

ใบงานที่1.2.1